♥Welcome to blogger Miss.petcharat pudas♥

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 16

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นช่วงสอบปลายภาค



ครั้งที่ 15

อาจารย์นำวีดีโอมาให้นักศึกษาดู เรื่อง เรียนอย่างไรใช้ศูนย์การศึกษาพิเศษ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กพิเศษ  ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม






ครั้งที่ 14

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนพานักศึกษาไปศึกษาดูงานที่ต่างจังหวัด

ครั้งที่ 13
วันนี้อาจารย์สอน เรื่อง การดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ





กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม (อังกฤษDown syndrome) เป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด และภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่องและปัญหาหลักคือ ภาวะปัญญาอ่อน
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า TRISOMY 21 มีมากถึง 95% สาเหตุรองลงมาเรียกว่า TRANSLOCATION คือมีโครโมโซมย้ายที่ เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น พบได้ 4% ส่วนสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุดคือมีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่งในคนๆ เดียว พบได้เพียง 1% เท่านั้นเรียกว่า MOSAIC


อาการทางสังคม

เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติกล่าวคือเด็กจะจ้องมองหน้าและตา หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น autism จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่คนเดียว เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามา
เด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย เช่นการกอด การจูบ ไม่เข้าใจท่าทางแสดความโกรธ จากปัญหาต่างๆดังกล่าวเด็กจะไม่สามารถเรียนรู้ความคิด อารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้อื่น หรือความต้องการของคนอื่น
เด็กบางคนจะแสดงความก้าวร้าวออกมา เด็กจะไม่สามารถควบคุมตัวเองในในสิ่งแวดล้อมใหม่หรือที่ๆแออัดหรือเวลาโกรธไม่พอใจ เด็กจะทำลายของเล่น หรือทำร้ายผู้อื่นหรือทำร้ายตัวเอง

ปัญหาด้านภาษา

เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ  หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
เด็กที่เป็น autism ภายใน 6 เดือนแรกก็จะพูดอ้อแอ้หลังจากนั้นจะหยุดพูด บางคนจะหยุดพูดตลอดไป การสื่อสารจะใช้สัญลักษณ์ เด็กบางคนเริ่มหัดพูดเมื่ออายุ 5-8 ปี เด็กบางคนจะพูดเป็นคำๆ เด็กไม่สามารถผสมคำได้อย่างมีความหมาย เด็กบางคนเลียนแบบคำพูดของคนอื่นหรือจำจากทีวี การพูดซ้ำมักจะพบได้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เด็ก autism เด็กอาจจะพูดใช้ความหมายผิดเช่นอยากออกนอกบ้านแต่เด็กใช้คำว่าขึ้นรถแทนคำว่าออกไปข้างนอก เด็กจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่าฉัน ของฉัน เธอ เช่น คุณชื่ออะไร เด็กจะตอบว่าคุณชื่อนนท์(ชื่อของเด็ก)
การแสดงความรู้สึกบนใบหน้าก็เป็นปัญหาสำหรับเด็ก autism จะไม่สามารถแสดงสีหน้าหรือท่าทางเพื่อแสดงดีใจ เสียใจ โกรธ น้ำเสียงก็ไม่มีสูงหรือต่ำเสียงเหมือนหุ่นยนต์ เนื่องจากเด็กไม่สามารถใช้ภาษาแสดงว่าต้องการอะไร เด็กจะใช้วิธีร้องหรือแย่งของแทนที่จะขอ

พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ

เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น
  • เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง
  • เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน
  • เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน
  • เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน เก้าอี้ รูปภาพ
  • เด็กเล็กจะมีจิตนาการ เช่นสมมุติตัวเองเป็นแม่ หรือแม่ค้า เอาชามใส่แทนหมวก แต่เด็กที่เป็น autism จะไม่มีจินตนาการเช่นนี้

ครั้งที่ 12
 เพื่อนกลุ่มสุดท้ายนำเสนอ เด็กออทิสติก


ออทิสติก    หมายถึง  เด็กที่มีพัฒนาการแตกต่างไปจากเด็กปกติ และส่งผลกระทบต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความสามารถในการสื่อสาร การใช้จินตนาการ  อารมณ์ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็ก
หลักการเลี้ยงดูเด็กออทิสติก
-         ยอมรับและเข้าใจความต้องการพิเศษของเด็ก
-         ให้ความรักและความสนใจในตัวเด็ก
-         พัฒนาและช่วยเหลือเด็กให้ช่วยเหลือตนเองได้
-         ชมเชยและชื่นชม เมื่อเด็กมีการแสดงออกที่เหมาะสมเพื่อให้เด็ก
รู้สึกภูมิใจและมั่นใจ
-         สอนเด็กอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนอย่างสม่ำเสมอ จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย และความสามารถของเด็ก
-         กระตุ้นทักษะทางภาษาอย่างต่อเนื่อง พูดคุยโต้ตอบขณะที่เด็กมีกิจกรรมต่าง ๆ
-         สอนทักษะทางสังคมที่เหมาะสมแก่เด็ก เริ่มจากการมองสบตา ทักษะการฟัง การเล่นกับกลุ่ม การรอคอย พยายามพาเด็กออกสู่สังคมจริง และสอนในทุกสถานการณ์อย่างเข้าใจ ใจเย็นและอดทน
-         สอนเหมือนเด็กทั่วไปให้รู้จักการช่วยเหลือตนเองตามวัย ตามความสามารถและข้อจำกัดของเด็ก
-         เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองภายในการดูแลและการให้กำลังใจของคนในครอบครัว
-         ฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย เช่น การรู้จักเข้าแถวการรอคอย รู้จักกฎกติกาในการเล่น และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

ลักษณะที่เด่นชัดของเด็กออทิสติก

ปัญหาด้านความสัมพันธ์
-        ไม่สบตากับผู้อื่น
-        ขาดความสนใจบุคคลรอบข้าง
-        ไม่เล่นกับเด็กคนอื่น ๆ
ปัญหามีพฤติกรรมแปลก ๆ
-        ทำท่าทางแปลก ๆ
-        หัวเราะไม่สมเหตุสมผล
-        ชอบหมุนวัตถุ
-        สนใจวัตถุ / สิ่งของซ้ำ ๆ
ปัญหาทางภาษา
-        การสื่อสารกับคนอื่นไม่เข้าใจ
-        พูดเรียนแบบเหมือนนกแก้ว
-        พูดเรื่องเดียวซ้ำ ๆ
ปัญหาด้านการรับรู้
-        ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงในชีวิต  เช่นสถานที่
-        การรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผิดปกติ เช่น ทากาว
ปัญหาที่พบบ่อย ๆ ของเด็กออทิสติก
-        ผลกระทบจากภาพและเสียง
-        ชอบกินอาหารชนิดเดิมซ้ำๆ   ไม่ยอมกินอาหารบางอย่าง
-        การใช้ห้องน้ำ
-        การติดเสื้อผ้าตัวเดิม
-        ชอบพูดเลียนซ้ำคำพูดหรือเพลงโฆษณาในโทรทัศน์
-        ความจำสัญลักษณ์ต่าง ๆ  เวลา
-        การกระตุ้นตนเอง
-        ปัญหาการนอน

ครั้งที่ 11

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองไม่เป็นปกติ






วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 10

  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกไปนำเสนองานกลุ่ม







กลุ่มที่ 1 นำเสนองานเรื่อง ภาวะการเรียนบกพร่อง (LD)
กลุ่มที่ 2 นำเสนองานเรื่อง เด็กพิการการทางสมอง
กลุ่มที่ 3 นำเสนองานเรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (สมาธิสั้น)
กลุ่มที่ 4 นำเสนองานเรื่อง ดาว์นซินโดรม